อธิบายหลักการจัดการบทความ การลบ การเพิ่ม

บทความ

การเขียนบทความใน WordPress นั้นก็ง่ายๆ เหมือนการเขียนในโปรแกรมอื่นๆ ทั่วไป เช่น Microsoft Word โดยเมื่อเราต้องการที่จะเขียนบทความใหม่ ก็สามารถทำได้ด้วยการเลือกเมนู สร้างใหม่ > เรื่อง จาก Toolbar

new-post

แล้วเราก็จะเจอหน้าตาสำหรับเขียนโพสใหม่แบบด้านล่างนี้ เป็นหน้าทำงานของเรา

เสมือนจริง (VISUAL)

คือการเขียนบทความแบบเหมือนเราพิมพ์ปกติ หลายคนอาจจะไม่เข้าใจ กล่าวคือ WordPress นั้นมีการพิมพ์ข้อความอยู่ 2 แบบ แบบแรกคือแบบมนุษย์ธรรมดาทั่วไปอย่างเราๆ นี่แหละค่ะ จะใช้แบบ เสมือนจริง (Visual Editor) ส่วนอีกแบบคือแบบที่สร้างมาสำหรับเหล่าโปรแกรมเมอร์ หรือคนที่รู้โค้ด ถนัดการเขียนแบบโค้ดมากกว่า เขาก็จะใช้แบบ ตัวอักษร (Text Editor) จะเป็นแบบภาษา HTML อันนี้ขอไม่อธิบายต่อแล้วกันนะคะ ลองค้นคว้าดูกันเอาเอง

visual-editor-blank

ขั้นแรกนั้นให้เราใส่ชื่อเรื่องที่จะเขียนในช่อง ใส่หัวข้อที่นี่ เสร็จแล้วด้านล่างตรงกล่องสี่เหลี่ยมขาวๆ ก็สามารถที่จะเริ่มต้เขียนได้เลย หลังจากที่เราใส่ชื่อหัวข้อหรือชื่อเรื่องแล้ว ระบบจะทำการสร้าง URL ของหน้าให้โดยอัตโนมัติ ตรงนี้ภาษาไทยจะใช้ระบบตัดคำไม่เหมือนกับภาษาอังกฤษ ทำให้อาจจะขาดๆ หายๆ และอ่านไม่เป็นภาษามนุษย์เมื่อเรานำไปแชร์ที่อื่น เพราะจะเป็นตัวอักษรพิเศษและตัวเลขเต็มไปหมด ขั้นตอนนี้แนะนำให้แก้ไข URL เป็นภาษาอังกฤษแทนค่ะ จะตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง (เรายังไม่แนะนำให้ใช้ชื่อไฟล์รูปภาพเป็นภาษาไทยโดยเด็ดขาดอีกด้วย)

โดยเครื่องมือต่างๆ นั้นก็จะคล้ายๆ กับโปรแกรมอื่นค่ะ เช่น ตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ เพียงแต่จะต่างจากโปรแกรมพวก Word Processing ตรงที่จะไม่ได้มีปุ่มปรับขนาดตัวหนังสือมาให้นะคะ เพราะจะควบคุมหลักๆ จากธีม เราสมารพคลิกที่ปุ่มในรูป เพื่อขยายเครื่องมือที่ถูกซ่อนไว้ให้แสดงออกมาได้

visual-editor-1

รูปแบบตัวหนังสือ

นอกจาก ตัวหนา เอียง ขีดเส้นใต้ จัดหน้าทั่วไปแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องใช้ก็คือ รูปแบบตัวหนังสือ หรือ Format ที่ปกติแล้วจะเป็นค่าเริ่มต้นว่า ย่อหน้า (Paragraph) ซึ่งจะแสดงตัวหนังสือในขนาดปกติ ใช้ในการเขียนทั่วไป แต่เมื่อใดที่เราต้องการที่จะขึ้นหัวข้อ เราก็สามารถที่จะเปลี่ยนรูปแบบข้อความนี้เป็น หัวข้อ (Heading) หัวข้อจะมีหมายเลขเรียงตามขนาด ตั้งแต่ 1-6 เรานิยมใช้ หัวข้อ 2 ในบทความ เพราะถ้าใช้หัวข้อ 1 นั้น จะไปซ้ำกับชื่อเรื่อง ซึ่งชื่อเรื่องที่เราตั้งไว้แต่แรกนั้น WordPress จะใช้เป็น หัวข้อ 1 โดยอัตโนมัติ ดังนั้นตามความสมเหตุสมผล หัวข้อต่างๆ ที่อยู่ในหน้านี้ ก็ควรจะเป็นหัวข้อที่เล็กกว่าชื่อเรื่อง เราจึงใช้ หัวข้อ 2 สำหรับเป็นหัวข้อหลักต่างๆ ในบทความ และถ้าย่อยกว่านั้นอีก ก็จะใช้ หัวข้อ 3 ซึ่งก็จะมีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ

การกำหนด หัวข้อ ให้กับบทความ เป็นการทำให้เว็บทั้งเว็บมีรูปแบบเป็นหนึ่งเดียวกัน ดีกว่าการกำหนดขนาดตัวหนังสือ ดังนั้น WordPress จึงไม่ใส่ที่กำหนดขนาดตัวหนังสือมาให้เรา และประเด็นที่สำคัญเลยก็คือ SEO (Search Engine Optimization) เครื่องมือในการค้นหาเว็บอย่าง Google.com นั้นจะทำการเก็บข้อมูลโดยดูจากหัวข้อต่างๆ เป็นหลักไปทำเป็นดัชนี เพื่อดูว่าเว็บเรานั้นเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร หัวข้อเหล่านี้ควรสอดครั้งกับชื่อเรื่อง จะส่งผลต่อการค้นหามากที่สุด

text-format.png

heading-paragraph-1

เราสามารถกดปุ่ม Preview เพื่อดูตัวอย่างของบทความที่เราเขียนได้ โดยการคลิกที่ปุ่ม ดูก่อน

preview